วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552

แผนการสอน

นางสาวจิราวรรณ เอื้อสามาลย์
โปรแกรมสังคมศึกษา
514110004
แผนจัดการเรียนรู้ที่3

เรื่อง แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติไทย
จำนวน 2 ชั่วโมง
1.สาระสำคัญ
การศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของชนชาติไทยได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าชนชาติไทยมาจากที่ใด ในขณะที่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน ก็ได้พบร่องรอยและหลักฐานการก่อตั้งบ้านเมืองในทุกภาคนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งบ้านเมืองเหล่านั้นได้มีการพัฒนาจากชุมชนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำและทะเล จนสามารถสร้างวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของตนเอง โดยผสมผสานจากวัฒนธรรมจากภายนอกที่เจริญกว่า จนกลายเป็นเอกลักษณ์และเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

2.จุดประสงค์การเรียนรู้

1.รู้และเข้าใจความเป็นมาของชนชาติไทยตามแนวคิดของนักวิชาการไทยและชาวต่างชาติ
2.วิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นเดิมของชนชาติไทยโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์

3.สาระการเรียนรู้

1.หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาเรื่องราวของชนชาติไทย
2.แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติไทย

4.กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่1
1.นักเรียนเข้าศึกษาในห้องโสตทัศนศึกษาหรือห้องเรียนมัลติมีเดียร์ แล้วเข้าสู่บทเรียนด้วการเสนอภาพแผนที่ที่ทวีปเอเชีย โดยใช้เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Over Head)
ครูตั้งคำถามพร้อมชี้ตำแหน่งในแผนที่ว่า “นักเรียนเชื่อหรือไม่ว่า ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณประเทศมองโกเลีย” จากนั้นเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายโต้แย้ง โดยอาจคัดค้านหรือ สนับสนุนก็ได้ แล้วจึงสรุปว่ามีนักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณประเทศมองโกเลีย ตอนใต้ของจีน หรือแหลมมลายู ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาต่อไป
2.นักเรียนทำบททดสอบก่อนเรียน
3.แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
4.ใช้สื่อคอมพิวเตอร์ โปรแกรม power point นำเสนอข้อมูลฉายไปยังจอภาพเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ตามลำดับดังนี้
4.1ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไต ประเทศมองโกเลีย
4.2ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณมณฑลยูนนาน ตอนใต้ของจีน
4.3ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณประเทศไทยปัจจุบัน
4.4ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายู
5.เปิดโอกาสให้มีการซักถามข้อสงสัย ก่อนที่จะเชิญอาสาสมัครสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษามาแล้วทั้งหมด
6.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มกลุ่มละ 3-5 คน ช่วยกันตอบคำถามในใบงานที่ 1 แล้วนำมาส่งเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
7.มอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมในแนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทโดยอาจเป็นแนวคิดของนักวิชาการรุ่นเก่าต่างๆ ที่สนับสนุนแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งก็ได้

ชั่วโมงที่2
1.เฉลยใบงานที่1 เพื่อทบทวนความรู้แล้วนำเข้าสู่บทเรียน โดยให้นักเรียนได้เข้าร่วมสนทนาซักถามและแสดงความคิดเห็น
2.เชิญชวนให้นักเรียนแต่ละกลุ่มที่ได้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม หรือศึกษาแนวคิดของนักวิชาการรุ่นเก่าต่างๆนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.ครูให้ข้อสรุปว่า ปัจจุบันก็ยังสรุปไม่ได้ว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ที่ใดกันแน่ นักวิชาการที่เชื่อมั่นแนวคิดใดก็จะหาเหตุผลมาสนับสนุนแนวคิดของตน และในฐานะที่นักเรียนเป็นผู้ศึกษาเรียนรู้จึงควรใช้วิจารณญาณ หรือวิธีการทางประวัติศาสตร์มาช่วย เพื่อประเมินความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับแนวคิดขงนักวิชาการต่างๆ
4.มอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นว่า ความคิดเห็นของกลุ่มนั้นเชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยน่าจะเป็นที่ใดในใบงานที่ 2 โดยใช้หลักฐานและเหตุผลที่ได้จากการค้นคว้าเพิ่มเติมมาสนับสนุนแนวคิดของกลุ่ม
5.ตัวแทนนักเรียนแต่ละกลุ่มเสนอความคิดเห็นของกลุ่มหน้าชั้นเรียน
6.นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน

5.สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1.แผนที่ทวีปเอเชีย
2.เครื่องคอมพิวเตอร์ แผ่น Disk โปรแกรม power point
3.เครื่องฉายข้ามศีรษะ(Over Head)
4.ใบงานที่ 1-2
5.แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
6.การวัดและประเมินผล
6.1วิธีการวัดและประเมินผล
1)สังเกตจาก
1.1)การตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น
1.2)การช่วยเหลือร่วมมือกัน
1.3)ความกระตือรือร้น
2.การทำงานกลุ่ม
3.การทำแบบทดสอบหลังเรียน
6.2เครื่องมือวัดและประเมินผล
1.)แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม(ดูจากภาคผนวก)
2.)ทำแบบประเมินการทำงานกลุ่ม(ดูจากภาคผนวก)
3.)แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
6.3เกณฑ์การวัดและประเมินผล
1.)คะแนนที่ได้จากการสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
2.)คะแนนที่ได้จากการประเมินการทำงานกลุ่มไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
3.)คะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75



การประเมินค่าระดับคะแนนคะแนนที่นักศึกษาทำได้จะได้รับการประเมินค่าดังนี้
80-100 = A
75-79 = B+
70-74 = B
65-69 = C+
60-64 = C
55-59 = D+
50-54 = D
0-49 = E






วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

นางสาวจิราวรรณ เอื้อสามาลย์
ค.บ2 โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา
รหัส 514110004
1.มัลติมีเดียมีความสำคัญอย่างไรกับการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันอย่างไร
มัลติมีเดีย มีการใช้สื่อมากกว่า 1 สื่อร่วมกันนำเสนอข้อมูลข่าวสาร โดยมีจุดมุ่งหมายให้ ผู้รับสื่อสามารถรับรู้ข่าวสารได้มากกว่า 1 ช่องทาง โดยผ่านการควบคุมการใช้ และโต้ตอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเครือข่าย ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบของมัลติมีเดียให้สอดคล้องกับปรัชญาการ เรียนรู้มากขึ้น สื่อประเภทนี้ไม่ได้เป็นเพียงรูปแบบของบทเรียนแบบโปรแกรม ที่ให้เพียงเนื้อหา คำถาม และคำตอบ แต่ได้รับการออกแบบให้เปิดกว้างสำหรับ การสำรวจกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดค้น สืบค้นมากขึ้น