วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552

แผนการสอน

นางสาวจิราวรรณ เอื้อสามาลย์
โปรแกรมสังคมศึกษา
514110004
แผนจัดการเรียนรู้ที่3

เรื่อง แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติไทย
จำนวน 2 ชั่วโมง
1.สาระสำคัญ
การศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของชนชาติไทยได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าชนชาติไทยมาจากที่ใด ในขณะที่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน ก็ได้พบร่องรอยและหลักฐานการก่อตั้งบ้านเมืองในทุกภาคนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งบ้านเมืองเหล่านั้นได้มีการพัฒนาจากชุมชนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำและทะเล จนสามารถสร้างวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของตนเอง โดยผสมผสานจากวัฒนธรรมจากภายนอกที่เจริญกว่า จนกลายเป็นเอกลักษณ์และเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

2.จุดประสงค์การเรียนรู้

1.รู้และเข้าใจความเป็นมาของชนชาติไทยตามแนวคิดของนักวิชาการไทยและชาวต่างชาติ
2.วิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นเดิมของชนชาติไทยโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์

3.สาระการเรียนรู้

1.หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาเรื่องราวของชนชาติไทย
2.แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติไทย

4.กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่1
1.นักเรียนเข้าศึกษาในห้องโสตทัศนศึกษาหรือห้องเรียนมัลติมีเดียร์ แล้วเข้าสู่บทเรียนด้วการเสนอภาพแผนที่ที่ทวีปเอเชีย โดยใช้เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Over Head)
ครูตั้งคำถามพร้อมชี้ตำแหน่งในแผนที่ว่า “นักเรียนเชื่อหรือไม่ว่า ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณประเทศมองโกเลีย” จากนั้นเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายโต้แย้ง โดยอาจคัดค้านหรือ สนับสนุนก็ได้ แล้วจึงสรุปว่ามีนักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณประเทศมองโกเลีย ตอนใต้ของจีน หรือแหลมมลายู ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาต่อไป
2.นักเรียนทำบททดสอบก่อนเรียน
3.แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
4.ใช้สื่อคอมพิวเตอร์ โปรแกรม power point นำเสนอข้อมูลฉายไปยังจอภาพเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ตามลำดับดังนี้
4.1ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไต ประเทศมองโกเลีย
4.2ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณมณฑลยูนนาน ตอนใต้ของจีน
4.3ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณประเทศไทยปัจจุบัน
4.4ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายู
5.เปิดโอกาสให้มีการซักถามข้อสงสัย ก่อนที่จะเชิญอาสาสมัครสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษามาแล้วทั้งหมด
6.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มกลุ่มละ 3-5 คน ช่วยกันตอบคำถามในใบงานที่ 1 แล้วนำมาส่งเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
7.มอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมในแนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทโดยอาจเป็นแนวคิดของนักวิชาการรุ่นเก่าต่างๆ ที่สนับสนุนแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งก็ได้

ชั่วโมงที่2
1.เฉลยใบงานที่1 เพื่อทบทวนความรู้แล้วนำเข้าสู่บทเรียน โดยให้นักเรียนได้เข้าร่วมสนทนาซักถามและแสดงความคิดเห็น
2.เชิญชวนให้นักเรียนแต่ละกลุ่มที่ได้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม หรือศึกษาแนวคิดของนักวิชาการรุ่นเก่าต่างๆนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.ครูให้ข้อสรุปว่า ปัจจุบันก็ยังสรุปไม่ได้ว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ที่ใดกันแน่ นักวิชาการที่เชื่อมั่นแนวคิดใดก็จะหาเหตุผลมาสนับสนุนแนวคิดของตน และในฐานะที่นักเรียนเป็นผู้ศึกษาเรียนรู้จึงควรใช้วิจารณญาณ หรือวิธีการทางประวัติศาสตร์มาช่วย เพื่อประเมินความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับแนวคิดขงนักวิชาการต่างๆ
4.มอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นว่า ความคิดเห็นของกลุ่มนั้นเชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยน่าจะเป็นที่ใดในใบงานที่ 2 โดยใช้หลักฐานและเหตุผลที่ได้จากการค้นคว้าเพิ่มเติมมาสนับสนุนแนวคิดของกลุ่ม
5.ตัวแทนนักเรียนแต่ละกลุ่มเสนอความคิดเห็นของกลุ่มหน้าชั้นเรียน
6.นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน

5.สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1.แผนที่ทวีปเอเชีย
2.เครื่องคอมพิวเตอร์ แผ่น Disk โปรแกรม power point
3.เครื่องฉายข้ามศีรษะ(Over Head)
4.ใบงานที่ 1-2
5.แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
6.การวัดและประเมินผล
6.1วิธีการวัดและประเมินผล
1)สังเกตจาก
1.1)การตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น
1.2)การช่วยเหลือร่วมมือกัน
1.3)ความกระตือรือร้น
2.การทำงานกลุ่ม
3.การทำแบบทดสอบหลังเรียน
6.2เครื่องมือวัดและประเมินผล
1.)แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม(ดูจากภาคผนวก)
2.)ทำแบบประเมินการทำงานกลุ่ม(ดูจากภาคผนวก)
3.)แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
6.3เกณฑ์การวัดและประเมินผล
1.)คะแนนที่ได้จากการสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
2.)คะแนนที่ได้จากการประเมินการทำงานกลุ่มไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
3.)คะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75



การประเมินค่าระดับคะแนนคะแนนที่นักศึกษาทำได้จะได้รับการประเมินค่าดังนี้
80-100 = A
75-79 = B+
70-74 = B
65-69 = C+
60-64 = C
55-59 = D+
50-54 = D
0-49 = E






วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

นางสาวจิราวรรณ เอื้อสามาลย์
ค.บ2 โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา
รหัส 514110004
1.มัลติมีเดียมีความสำคัญอย่างไรกับการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันอย่างไร
มัลติมีเดีย มีการใช้สื่อมากกว่า 1 สื่อร่วมกันนำเสนอข้อมูลข่าวสาร โดยมีจุดมุ่งหมายให้ ผู้รับสื่อสามารถรับรู้ข่าวสารได้มากกว่า 1 ช่องทาง โดยผ่านการควบคุมการใช้ และโต้ตอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเครือข่าย ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบของมัลติมีเดียให้สอดคล้องกับปรัชญาการ เรียนรู้มากขึ้น สื่อประเภทนี้ไม่ได้เป็นเพียงรูปแบบของบทเรียนแบบโปรแกรม ที่ให้เพียงเนื้อหา คำถาม และคำตอบ แต่ได้รับการออกแบบให้เปิดกว้างสำหรับ การสำรวจกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดค้น สืบค้นมากขึ้น

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แบบฝึกหัดการสือสาร

นางสาวจิราวรรณ เอื้อสามาลย์
โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา
514110004
1. สื่อการสอนมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนอย่างไรตัวกลางที่จะช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้ จากครูผู้สอน หรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เป็นสิ่งช่วยอธิบาย และขยายเนื้อหาบทเรียน ให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนที่ตั้งไว้

2. สื่อการสอนสามารถจำแนกได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
1./ อุปกรณ์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่านทำให้ข้อมูลความรู้ที่บันทึกไว้ในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมาให้เห็นหรือได้ยินได้ เช่น เครื่องฉายภาพโปร่งใส เครื่องเล่นเทป เป็นต้น
2. / วัสดุ (Software) หมายถึง สื่อที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเองจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ
2.1 วัสดุที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย เช่น แผนที่ ลูกโลก หุ่นจำลอง เป็นต้น
2.2 วัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วยเช่น แผ่นเสียง สไลด์ เป็นต้น
3./ เทคนิคและวิธีการ (Technique and Method) หมายถึง สื่อที่มีลักษณะเน้นแนวความคิดหรือรูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอนเป็นสำคัญ อาจนำเอาวัสดุหรืออุปกรณ์มาช่วยในการสอนด้วยก็ได้
3. เอดการ์ เดล ใช้อะไร ? เป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของสื่อก
1 / การกระทำจริงกับสภาพที่เป็นจริงด้วยจุดมุ่งหมายของผู้กระทำ
2 / ประสบการณ์จำลอง สิ่งพวกนี้ได้แก่ สถานะการณ์จำลอง หุ่นจำลอง ภาพอันตรทัศน์
3 / ประสบการณ์นาฎการ เช่น ละคร การแสดงในรูปแบบต่าง ๆ
4 / การสาธิต เป็นการแสดงการกระทำด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนดูหรือสังเกต
5 / การทัศนศึกษานอกสถานศึกษา
6 / นิทรรศการ เป็นการดูของจริงที่นำมาจัดแสดงเอาไว้
7 / โทรทัศน์ ดูจากรายการโทรทัศน์
8/ ภาพยนตร์ เป็นภาพยนตร์การสอน ภาพยนตร์มีความเป็นรูปธรรมน้อยกว่าโทรทัศน์ตรงความรู้สึกของผู้รับประสบการณ์ ผู้ชมภาพยนตร์เกิดความรู้สึกว่าภาพยนตร์มีความใหม่ ความสดน้อยกว่าโทรทัศน์
9 / พวกภาพนิ่งและเสียงทั้งหลาย พวกนี้ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งแสง ภาพทึบแสง เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง รายการวิทยุ เป็นต้น
10 / ทัศนสัญลักษณ์ อาทิเช่น แผนภูมิ แผนสถิติ แผนที่ ไดอาแกรม การ์ตูน ภาพล้อ และสัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
11 / วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ ข้อความที่เป็นสิ่งขีดเขียนหรือคำพูดจากปากคนพูด

4. ให้บอกคุณค่าทั่วไปของสื่อการสอนมา 5 อย่าง
1/ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ การเลือกให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์นั้นผู้สอนจะต้อง พิจารณาว่าวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมอย่างไร
2/ ตรงกับเนื้อหา การเลือกให้ตรงเนื้อหาให้พิจารณาที่ตัวสื่อว่าให้ข้อมูลด้านใด ให้เนื้อหาสาระตรงตามเนื้อหาที่สอนหรือไม่
3 /น่าสนใจ การเลือกสื่อที่น่าสนใจให้พิจารณาด้านขนาด รูปทรง สีสันขนาดตัวอักษร ความปราณีต ความสวยงาม และมีศิลปะความน่าดู น่าใช้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ช่วยสร้างศรัทธาให้เกิดกับผู้เรียน
4 / เหมาะกับวัยผู้เรียน ควรเลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับวัยผู้เรียนก็เนื่องจากผู้เรียนแต่ละวัยย่อมมีความสนใจที่แตกต่างกันในเรื่องระยะเวลาที่สนใจ และเรื่องที่สนใจ เช่น เด็กสนใจการ์ตูนมากกว่าภาพถ่าย
5 /สะดวกต่อการใช้และการเก็บรักษา ผู้สอนจะต้องเลือกสื่อโดยมีขั้นตอนการใช้ไม่ยุ่งยาก สะดวกต่อการฝึกใช้ เมื่อใช้แล้วให้ผลคุ้มค่า ปลอดภัย ไม่เกิดอันตราย สื่อนั้นนำมาใช้ในสภาพห้องเรียนที่มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก

5. ขั้นตอนในการใช้สื่ออย่างเป็นระบบมีอะไรบ้าง
1 ขั้นวางแผนภารกิจ(Planing of Media Utilization)
2 ขั้นเลือกสื่อการสอน(Selection of Media)
3 ขั้นเตรียมการใช้(Preparation of Media Utilization)
4 ขั้นการใช้สื่อ(Presentation of Media)
5 ขั้นการประเมินผลการใช้สื่อ(Evaluation of Media Utilization)

6. ท่านมีวิธีการเลือกสื่อมาใช้กับการเรียนการสอนอย่างไรการใช้สื่อ (Utilize Materials)
1.ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อเหล่านี้ก่อนเป็นการเตรียมตัว
2 จัดเตรียมสถานที่
3 เตรียมตัวผู้เรียน
4 ควบคุมชั้นเรียน

7. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
1. เลือกสื่อและวิธีการให้ถูกต้องวัตถุประสงค์
2.ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ถ้าไม่มีการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ก่อน
3. ผู้เรียนทราบว่าเมื่อเรียนบทเรียนนั้นแล้วจะสามารถเรียนรู้หรือ

8. ท่านคิดว่าสื่อการสอนเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนอย่างไรสื่อการสอน
เป็นตัวกลางที่จะช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้ จากครูผู้สอน หรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เป็นสิ่งช่วยอธิบาย และขยายเนื้อหาบทเรียน ให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนที่ตั้งไว้

9. การได้ทราบประเภท และคุณสมบัติของสื่อ ช่วยท่านในการเลือกผลิตและใช้สื่ออย่างไร
ผู้สอนจะต้องเข้าใจเนื้อหาเป็นอย่างดี เข้าใจสภาพผู้เรียนและกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมไว้อย่างชัดเจน

10ปัจจุบันสื่ออิเลคทรอนิคส์เข้ามามีบทบาทกับการศึกษาทุกระดับ ท่านมีความคิดเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไรการเรียนการสอน ช่วยแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคล ฯลฯ สำหรับประโยชน์กับผู้สอน จะช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้สอน โดยบางครั้งอาจให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาเองจากสื่อได้ ในการใช้สื่อการสอน หากผู้สอนได้มีการวางแผนอย่างเป็นระบบก็จะช่วยให้การใช้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำถามทบทวน

นางสาวจิราวรรณ เอื้อสามาลย์
โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา
514110004
1. การสื่อสารมีความสำคัญกับการเรียนรู้อย่างไร

-ทำให้ การถ่ายทอดเรื่องราว การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก ระหวางผู้เรียนกับผู้สอน ตลอดรวมไปถึงระบบเพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดคาวมเข้าใจที่ผูเรียนสามารถสามารถนำไปใช้ประโยชน์

2.องค์ประกอบของการสื่อสารมีอะไรบ้าง

-องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารประกอบด้วย
1. ผู้ส่งสาร (Source) คือ ผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว ความรู้ ความคิด ตลอดจนเหตุการณ์
ต่างๆเพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เช่น ผู้อ่าน ข่าว ครู สถาบันการศึกษา เป็นต้น
2. เรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เพื่อให้ผู้รับรับ
ข้อมูลเหล่านั้น เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น
3. สื่อ (Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ เหตุการณ์ต่างๆที่ผู้
ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้มากก็คือ ภาษาพุด ภาษาเขียน
4. ผู้รับสาร (Receiver ) ได้แก่ ผู้ที่รับเนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งมา ผู้รับ
นี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เมื่อรับเรื่องราวแล้วผู้รับต้องมี การแปลข่าวสารนั้นให้เข้าใจ เหตุการณ์

3.จงเขียนแผนผังของกระบวนการสื่อสาร

- ผู้ส่งสาร-การเข้ารหัส-สัญญาณ-การถอดรหัส-ผู้รับสาร

4.ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น ทำไมครูจึงควรใช้รูปแบบการสื่อสารสองทางคนเราสามารถรับรู้ทางใดมากที่สุด ในปริมาณเท่าไหร่

-เพราะการสื่อสารแบบนี้ผู้รับสารมีโอกาสแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบให้ผู้ส่งสารได้รับทราบ เช่น โดยการตอบคำถาม ถามคำถาม ทำท่าทาง อากัปกริยา ซึ่งเรียกว่า ปฏิกิริยาย้อนกลับ (Feedback) ซึ่งในกระบวนการสื่อสารนั้นปฏิกิริยาย้อนกลับมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้ผู้ส่งสารทราบว่าผู้รับสารเข้าใจสารที่เขาส่งไปมากน้อยและถูกต้องเพียงไร เพื่อจะได้มีโอกาสแก้ไขปรับปรุงข้อผิดพลาดต่าง ๆ หรือปรับปรุงรหัสและวิธีการสื่อสารเสียใหม่และอาจจะมีส่วนช่วยในการเข้าใจความหมายในสารของเขาแก่ผู้รับสารอีกด้วย มนุษย์เราสามารถรับรู้ได้มากที่สุดคือทางตาประมาณ 75% รองลงมาคือทางหูด้วยการได้ยิน 13% นอกนั้นเป็นการรับรู้ทางกาย จมูก และลิ้น ซึ่งประสาทสัมผัสเหล่านี้จะรวบรวมข้อมูลแล้วส่งข้อมูลไปยังระบบประสาท

5.องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
-

การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในปริมาณมากน้อย หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หลายประการ คือ
1. แรงจูงใจ (Motive) คนเราจะเรียนรู้ได้ดีหากเขามีแรงจูงใจสูงในบทเรียน ที่เขาจะเรียน
เช่น เรื่องนั้นแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น หรือตรงความต้องการของเขา
2. กระบวนการสอน (Teaching procedure) แม้ว่าผู้เรียนจะมีความตั้งใจที่จะเรียนเพียงใด แต่ถ้ากระบวนการสอนของครูไม่ดีพอ ก็อาจส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนขาดประสิทธิภาพได้
3. กระบวนการเรียน (Studying Procedure) การเรียนรู้ของคนเรานั้น เกิดจากการที่
ประสาทสัมผัส (Sense) ได้รับการเร้าจากสิ่งเร้า (Stimulus) บุคคลจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเร้านั้นได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการเรียนรู้นั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการเรียนของเขานั้นได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งเร้าโดยตรงมากน้อยเพียงใดด้วย ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้เรียนจากกระบวนการเรียนที่ตนเองได้มีโอกาสสัมผัสมาก ๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องกว่าการเรียนจากคำบอกเล่า หรือท่องจำอย่างเดียว
6.อุปสรรคในการสื่อความหมายมีอะไรบ้าง

-ในกระบวนการสื่อสารนั้น ปริมาณของข่าวสารซึ่งออกจากผู้ส่งจะไปยังผู้รับเต็มจำนวนร้อยเปอร์เซนต์หรือไม่ พบว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วปริมาณของข่าวสารจากผู้ส่งสารจะถ่ายทอดไปถึงผู้รับไม่ครบถ้วน เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ขององค์ประกอบในขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสามารถในการเข้ารหัส ผู้ส่งสารอาจขาดความสามารถในการแปลความต้องการของตนให้เป็นสัญญาณ เช่น บางคนมีความคิดแต่ไม่รู้จะถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
2. ความบกพร่องของสื่อและช่องทาง เช่น สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดไม่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม ตลอดจนความบกพร่องของช่องทางในการรับส่งสัญญาณ เช่น ตาไม่ดี หูไม่ดี เป็นต้น
3. มีสิ่งรบกวนสัญญาณ (Noise) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
3.1 สิ่งรบกวนภายนอก ได้แก่ ความไม่สะดวกทางกายภาพ เช่น ความแออัดของสถานที่ เสียงรบกวนที่ดัง กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
3.2 สิ่งรบกวนภายใน ได้แก่ อุปสรรคที่มาจากภายในตัวของผู้ส่งสารและผู้รับ
สาร เช่น ความเครียด อารมณ์ที่ขุ่นมัว จิตใจเลื่อนลอย เป็นต้น
4. ความสามารถในการถอดรหัสสัญญาณของผู้รับสาร ได้แก่ ข้อจำกัดในการรับสัญญาณและการแปลความหมาย ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
4.1 อุปสรรคทางด้านภาษา (Verbalism) ได้แก่ ความไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อภาษาที่
ใช้ในการสื่อความหมาย
4.2 ความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิม (Referent Confusion)
4.3 ขีดจำกัดของการรับรู้จากประสาทสัมผัส (Limited Perception)
4.4 สภาพร่างกายที่ไม่พร้อม (Physical Discomfort)
4.5 การไม่ยอมรับ(Inpercerption)

7. จงยกตัวอย่างแบบจำลองของการสื่อสารมา 1 แบบ

-2. แบบจำลองของแชนนัลและวีเวอร์ ( Shannon and Weaver)
แชนนัลและวีเวอร์ ได้คิดรูปแบบจำลองการสื่อสารขึ้นในลักษณะของกระบวนการสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรง โดยเห็นว่าองค์ประกอบสำคัญนั้นมี 5 ประการ คือ
2.1 แหล่งข้อมูลข่าวสาร
2.2 เครื่องส่ง
2.3 ช่องทาง
2.4 ผู้รับ
2.5 จุดหมายปลายทาง


8. จงเปรียบเทียบองค์ประกอบของการสื่อสาร กับการเรียนการสอน

-การสื่อสาร การเรียนการสอน

ผู้ส่งสาร ครูผู้สอน
สาร เนื้อหาวิชา
สื่อหรือช่องทาง สื่อการเรียนการสอน
ผู้รับสาร นักเรียน(ผู้เรียน)
9. จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสาร การรับรู้ และการเรียนรู้

-การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่มนุษย์ติดต่อถ่ายทอดเรื่องราว แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารโดยผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับอย่างมีวัตถุประสงค์ ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอน ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการการสื่อสารด้วยเช่นกัน

การสื่อสาร และ การรับรู้

นางสาวจิราวรรณ เอื้อสามาลย์
โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา
514110004
วิธีการการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 วิธี คือ

1.1 การสื่อสารด้วยวาจา หรือ "วจภาษา" (Oral Communication) เช่น การพูด การร้องเพลง เป็นต้น

1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ "อวจนภาษา" (Nonverbal Communication) และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน (Written Communication) เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง ภาษามือและตัวหนังสือ เป็นต้น โปสเตอร์ สไลด์ หรือโดยการใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น ลูกศรชี้ทางเดิน เป็นต้น

2. รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

2.1 การสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate response) ให้ผู้ส่งทราบได้ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที จึงมักเป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อมวลชน เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์ เหล่านี้เป็น

2.2 การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่น การพูดโทรศัพท์ การประชุม

3 ประเภทของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

3.1 การสื่อสารในตนเอง (Intapersonal or Self-Communication) เป็นการสื่อสารภายในตัวเอง หมายถึง บุคคลผู้นั้นเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน เช่น การเขียนและอ่านหนังสือ เป็นต้น

3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างคน 2 คน เช่น การสนทนา หรือการโต้ตอบจดหมายระหว่างกัน เป็นต้น

3.3 การสื่อสารแบบกลุ่มชน (Group Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก เช่น การสอนในห้องเรียนระหว่างครูเพียงคนเดียวกับนักเรียนทั้งห้อง หรือระหว่างกลุ่มชนกับบุคคล เช่น กลุ่มชนมาร่วมกันฟังคำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น

3.4 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการสื่อสารโดยการอาศัยสื่อมวลชนประเภทวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น นิตรสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ แผ่นโปสเตอร์ ฯลฯ เพื่อการติดต่อไปยังผู้รับสารจำนวนมากซึ่งเป็นมวลชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารเดียวกันๆ

1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร หรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communicatior or Source) เป็นแหลหรือผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว แนวความคิด ความรู้ ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มชนก็ได้ ผู้ส่งนี้จะเป็นบุคคลเพียงคนเดียว กลุ่มบุคคลหรือสถาบัน โดยอยู่ในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายอย่าง

2. เนื้อหาเรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร บทเพลง ข้อเขียน ภาพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านี้

3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media or Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวความคิด เหตุการณ์ เรื่อราวต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ

4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver or Target Audience) ได้แก่ ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือที่ผู้ส่งส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบันก็ได้

5. ผล (Effect) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้นคือ การที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ พอใจหรือโกรธ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสาร และจะเป็นผลสืบเนื่องต่อไปว่าการสื่อสารนั้นจะสามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้รับ สื่อที่ใช้ และสถานการณ์ในการสื่อสารเป็นสำคัญด้วย

6. ปฏิกริยาสนองกลับ (Feedback) เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากผลซึ่งผู้รับส่งกลับมายังผู้ส่งโดยผู้รับอาจแสดงอาการให้เห็น เช่น ง่วงนอน ปรบมือ ยิ้ม พยักหน้า การพูดโต้ตอบ หรือการแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่า ผู้รับมีความพอใจหรือมีความเข้าใจในความหมายที่ส่งไปหรือไม่ปฏิกริยาสนองกลับนี้คือข้อมูลย้อนกลับอันเกิดจากการตอบสนองของผู้รับที่ส่งกลับไปยังองค์ประกอบของการสื่อสารในการเรียนการสอน

1. ผู้ส่งสารในการเรียนการสอน คือ ผู้สอน ครู วิทยากร หรือผู้บรรยาย

2. เนื้อหาความรู้ ที่ส่งให้แก่ผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหาของวิชาตามหลักสูตรที่กำหนดไว้โดยจะแบ่งไว้เป็นบทเรียน มีการเรียงลำดับความยากง่ายเพื่อความสะดวกในการนำมาสอน

3. สื่อหรือช่องทางที่ใช้ส่งเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียน

4. ผู้รับสารในการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้เรียน ซึ่งมีระดับอายุ สติปัญญา และความรู้พื้นฐานที่แตกต่างกันในแต่ละระดับชั้น จึงทำให้มีความสามารถในการถอดรหัสแตกต่างกันไปด้วย

5. ผลที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน หมายถึง ผลของการเรียนรู้เพื่อแสดงว่าผู้เรียนสามารถเข้าใจสารหรือความรู้ที่รับมาหรือไม่

6. ปฏิกริยาสนองกลับของผู้เรียน หมายถึง การที่ผู้เรียนตอบคำถามได้หรืออาจจะถามคำถามกลับไปยังผู้สอน หรือการที่ผู้เรียนแสดงอาการง่วงนอน ยิ้ม หรือแสดงกริยาใด ๆ ส่งกลับ

1. การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารทางเดียว การให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียนในรูปแบบการสื่อสารทางเดียวหรือในการสื่อสารระบบวงเปิด (Open-Loop System) นี้ สามารถให้ได้โดยใช้การฉายภาพยนตร์ วีดิทัศน์ การใช้โทรทัศน์วงจรปิดในการสอนแก่ผู้เรียนจำนวนมากในห้องเรียนขนาดใหญ่ หรือการสอนโดยใช้วิทยุและโทรทัศน์การศึกษาแก่ผู้เรียนที่เรียนอยู่ที่บ้าน การแปลความหมายของผู้เรียนต่อสิ่งเร้าก่อนจะมีการตอบสนองที่เหมาะสมนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพราะถ้าขอบข่ายประสบการณ์ของผู้เรียนมีน้อยหรือแตกต่างไปจากผู้สอนมากจะทำให้การเรียนนั้นไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรรูปแบบของสิ่งเร้า การแปลความหมาย และการตอบสนองในการสื่อสารทางเดียว โดยไม่มีปฏิกริยาสนองกลับส่งไปยังผู้สอนหรือสิ่งเร้า ดังนั้น การเรียนการสอนโดยใช้ผู้สอนหรือใช้สื่อการสอนในรูปแบบการสื่อสารทางเดียวหรือการสื่อสารในระบบวงเปิดนี้ จึงควรจะมีการอธิบายความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนเข้าใจก่อนการเรียนหรืออาจจะมีการอภิปรายภายหลังจากการเรียนหรือดูเรื่องราวนั้นแล้วก็ได้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและแปลความหมายในสิ่งเร้านั้นอย่างถูกต้องตรงกันจะได้มีการตอบสนองและเกิดการเรียนรู้ได้ในทำนองเดียว

2. การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารสองทาง การให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียนในรูปแบบการสื่อสารสองทงหรือการสื่อสารระบบวงปิด (Closed Loop System) นี้ สามารถให้ได้โดยการใช้อุปกรณ์ประเภทเครื่องช่วยสอน (Teaching Machine) หรือการอภิปรายกันในระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ทั้งนี้เพราะในสถานการณ์ของการสื่อสารแบบนี้ เนื้อหาข้อมูลต่างจะผ่านอยู่แต่เฉพาะในระหว่างกลุ่มบุคคลที่อยู่ในที่นั้น โดยถ้าเป็นการเรียนโดยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือการใช้เครื่องช่วยสอน เนื้อหาความรู้จะถูกส่งจากเครื่องไปยังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนทำการตอบสนองโดยส่งคำตอบหรือข้อมูลกลับไปยังเครื่องอีกครั้งหนึ่ง หรือถ้าเป็นการอภิปรายในห้องเรียนผู้สอนและผู้เรียนจะมีการโต้ตอบเนื้อหาความรู้กัน เป็นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเช่นเดียวกันการใช้อุปกรณ์การสอนดังกล่าวมาแล้วการใช้การสื่อสารรูปแบบนี้ในการเรียนการสอนมีข้อดีที่สำคัญหลายประการโดยเมื่อผู้รับมีการตอบสนองแล้ว จะเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ส่งและมีปฏิกริยาสนองกลับส่งไปยังผู้ส่งเดิมซึ่งจะกลายเป็นผู้รับ

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

นางสาวจิราวรรณ เอื้อสามาลย์

โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา

514110004

1.ระบบ (System) หมายถึง การรวมกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้วิธีระบบ (System Approach) การตรวจสอบผลผลิตเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์กันในการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน2.ระบบโดยทั่วไป จะมีองค์ประกอบดังนี้1.สิ่งนำเข้า (Input) ได้แก่ การกำหนดปัญหา จุดมุ่งหมายทรัพยากรที่ใช้



2.กระบวนการ (Process) ได้แก่การลงมือแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล การนำวัตถุดิบมาใช้ มาจัดกระทำอย่างเหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย 3. ผลผลิต (Output) คือผลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือสรุปการวิเคราะห์เพื่อประเมินต่อไป 4. ผลย้อนกลับ (Feedback) คือการตรวจสอบผลผลิตเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไป



3.เป็นการนำเอารูปแบบของระบบมาใช้ในการจัดทำโครงร่าง และกรอบของการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเรียนการสอน เป็นไปอย่างมีขั้นตอนที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทำให้ผลที่ได้เกิดประสิทธิผลตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการตามแผนภาพที่แสดงให้เห็น การกำหนดระบบการสอน



4.เป็นวิธีระบบรูปแบบหนึ่งที่นำมาจากแนวคิดของไชน์พิชและคณะ (1993) โดยมีระบบการดำเนินงานตามลำดับขั้นดังนี้A = ANALYZE LEARNER'S CHARACTERISTICS การวิเคราะห์ผู้เรียน ที่สำคัญได้แก่ การวิเคราะห์พฤติกรรมเบื้องต้น และความต้องการของผู้เรียน ทั้งในด้าน 1. ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา เจตคติ ระบบสังคม วัฒนธรรม 2. ข้อมูลเฉพาะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอน เช่น ประสบการณ์เดิม ทักษะ เจตคติ ความรู้พื้นฐาน และความสามารถในบทเรียนนั้นเพียงใด S = STATE LEARNING OBJECTIVES AND CONTENT การกำหนดจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายการเรียนที่ดี S = SELECT, MODIFY OR DESIGN MOTHODS AND MATERIALS การกำหนดสื่อการเรียนการสอน อาจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ประการดังนี้ คือ 1) การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน 2) ดัดแปลงจากสื่อวัสดุที่มีอยู่แล้ว 3) การออกแบบสื่อใหม่U = UTILIZE METHODS AND MATERIALS กิจกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอน พิจารณาได้ 3 ลักษณะคือ 1) การใช้สื่อประกอบการสอนของผู้สอน เช่น ประกอบคำบรรยาย และอธิบาย 2) การใช้สื่อเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน เช่น ชุดการสอน บทเรียนด้วยตนเอง 3) การใช้สื่อร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เช่น เกม สถานการณ์จำลอง และการสาธิต การมีส่วนร่วมของผู้เรียน R = REQUIRE LEARNER'S RESPONSE การกำหนดพฤติกรรมตอบสนองของผู้เรียน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดนั้น ผู้เรียนจะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองและมีการเสริมแรง สำหรับการพฤติกรรมการตอบสนองที่ถูกต้องอยู่เสมอE = EVALUATION การประเมินผล ควรพิจารณาทั้ง 3 ด้านคือ 1) การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) การประเมินสื่อและวิธีใช้ 3) การประเมินกระบวนการเรียนการสอน



5.1) การใช้สื่อประกอบการสอนของผู้สอน เช่น ประกอบคำบรรยาย และอธิบาย 2) การใช้สื่อเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน เช่น ชุดการสอน บทเรียนด้วยตนเอง 3) การใช้สื่อร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เช่น เกม สถานการณ์จำลอง และการสาธิต การมีส่วนร่วมของผู้เรียน การใช้สื่อการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมหรือได้ลงมือกระทำร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนได้มากที่สุด



6.การออกแบบจึงช่วยให้ได้แผนงานหรือรูปแบบการดำเนินงาน ด้วยความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงาน การออกแบบการสอน เป็นการวางแผนการสอนโดยใช้วิธีระบบจุดเริ่ม ของการออกแบบการสอน ก็คือ การพิจารณาองค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบและพิจารณาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนการสอน ดังนั้น การออกแบบระบบการสอนจึงต้องพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ด้วยการตอบคำถามสำคัญ 4 ประการ ดังนี้ 1. โปรแกรมการสอนนี้ จะออกแบบสำหรับใคร (คำตอบก็คือ ผู้เรียน ดังนั้น ขั้นแรกจึงต้องศึกษา คุณลักษณะของผู้เรียน) 2. ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้อะไร หรือมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง (คำตอบก็คือจุดมุ่งหมายการเรียน) 3. เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนนั้นจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไร (คำตอบก็คือต้องคิดหาวิธีสอน สื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน ฯลฯ) 4. จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ หรือเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด (คำตอบก็คือ ต้องคิดหาวิธีประเมินผลการเรียนการสอน)



7.ในการเรียนทุกๆครั้งจะต้องกำหนดตัวเองให้ได้ว่า ต้องอ่านหนังสือก่อนมาเรียนทุกครั้ง แล้วเวลาเข้าเรียนก็ต้องตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอน กลับไปบ้านก็ต้องอ่านหนังสือทบทวนอีกรอบ แล้วจะได้ทำข้อสอบได้และเข้าใจในเนื้อหาที่ได้เรียนไปอย่างแท้จริง

แบบฝึกหัดครั้งที่2

นางสาวจิราวรรณ เอื้อสามาลย์

โปรแกรมสังคมศึกษา

รหัส514110004

1.เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ นวัฒกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติการใหม่ๆทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น



2.1.เทคโนโลยีทางการอาหาร 2.เทคโนโลยีทางการแพทย์ 3.เทคโนโลยีทางการเกษตร 4.เทคโนโลยีทางการสื่อสาร 5.เทคโนโลยีทางการค้า



3.ทัศนะทางสื่อหรือวิทยาศาสตร์กายภาพ มุ่งไปที่วัสดุ หรือผลผลิตทางวิศวกรรมเป็นสำคัญ ส่วนทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์มุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์



4.1.บุคคลธรรมดาสามัญ เป็นการเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม 2.บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา เป็นการศึกษาศิลปะถ่ายทอดความรู้จากอดีต 3.บุคคลที่เป็นนักการศึกษา 3.1ทัศนะแนวสังคมนิยม ให้ความสำคัญกับส่วนรวมก่อนการศึกษา 3.2ทัศนะเสรีนิยม มุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญ



5.1.ระดับอุปกรณ์การสอน 2.ระดับวิธีสอน 3.ระดับการจัดระบบการ



6.เทคโนโลยี คือเครื่องมือที่แปลกใหม่ทันสมัยสลับซับซ้อนไปด้วยเครื่องยนต์กลไก ไฟฟ้า นวัฒกรรม คือ ความคิดและการกระทำใหม่ๆ



7.1.ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น 2.ขั้นการพัฒนาหรือขั้นการทดลอง 3.ขั้นการนำไปปฏิบัติจริง



8.1.ช่วยให้ผู้เรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียน 2.สนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลมีอิสระในการแสวงหาความรู้ 3.ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น ค้นพบวิธีการใหม่ๆ 4.มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสื่อการสอน 5.ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว



9. 1.การสอนแบบโปรแกรม 2.ศูนย์การเรียน 3.ชุดการสอน



10.1.การเพิ่มจำนวนประชากร เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร 2.การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นปัญหาที่ต่อเนื่องจากการเพิ่มของประชากร ทำให้ต้องต่อสู้ดิ้นรน 3.ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ๆ จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้ทันกับเครื่องมือที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว



11.1.คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง 2.คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม 3.คนไทยส่วนใหญ่ขาดลักษณะอันพึงประสงค์ตามลักษณะสังคมไทย



12.1.กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น 2.สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง 3.รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่อย่างมีประสิทธิภาพ 4.รู้จักแสวงหาความรู้เอง 5.มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม